มะรุม พืชมหัศจรรย์


มะรุม Moringa oleifera Lam. พีชมหัศจรรย์

เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น รากมะรุม จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือกมะรุม จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบมะรุม ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอกมะรุม ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝักมะรุม มีรสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะรุม : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณมะรุม :

  • ฝักมะรุม ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม
  • เปลือกต้น มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
  • รากมะรุม มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
  • แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน

"มะรุม" มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็น พืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก ผักอีฮุม หรือผักอีฮึมภาคเหนือเรียก มะค้อมก้อนชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก กาแน้งเดิงส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียกผักเนื้อไก่เป็นต้น

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วน อื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่องผงนัวกับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุม
เป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า ดังนั้นการกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

  • วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
  • วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
  • แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
  • โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
  • ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนก กระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกากของเสียออกจากร่างกาย

ประเทศ อินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก มาลังเก”) เพื่อบำรุงน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ประโยชน์ของมะรุม
1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วย เพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6. ถ้า รับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. รักษา โรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11. เป็นยาปฏิชีวนะ

น้ำมันมะรุม
สรรพคุณ..ใช้ หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

ชะลอความแก่
กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่ง ต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู


ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การ ทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการ กระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม


ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จาก การทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี

โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)

ไขมัน 0.1 กรัม

ใยอาหาร 4.8 กรัม

คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม

วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)

วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)

แคโรทีน 110 ไมโครกรัม

แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)

ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม

เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม

แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม

โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)

ทั้งนี้กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่ม มีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย


ที่ ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง

สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งาน วิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหาย โดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทราน มิโนทราน สเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้


เอกสารอ้างอิง:

Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz.
WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok.

นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550

ใบย่านาง สรรพคุณสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น

ใบย่านาง นั้นมีสารสำคัญซึ่งก็คือ เบต้าแคโรทีน วิตามิน เอ และคลอโรฟิลเป็นจำนวนโดสสูงมาก ดังนั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกันและคุ้มครองรักษา ช่วยฟื้นฟูเซลล์ร่างกายของผู้คนในยุคสมัยนี้ เพราะ ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักจะป่วยเพราะมีปัญหาไม่สมดุลแบบร้อนเกิน โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว อันเกิดจากหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น มีความเครียดสูงเพราะถูกบีบคั้น กดดันจากผู้คนรอบข้างและสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันที่นับว่าอัตราการแก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกันสูงขึ้นมาก ประกอบสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่มีมลพิษสูง มองหาต้นไม้ยังยาก น้ำก็สกปรก อาหารมีการปนเปื้อนสารพิษสูงอาหารไม่มีคุณภาพ บางคนทานอาหารรสจัดเป็นประจำ มีการใช้สารปรุงแต่งในการทำอาหารมากขึ้น การใช้สารเคมีในขบวนนการผลิตอาหาร การใช้ชีวิตโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครืองอิเล็คทรอนิกส์มากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้คนเจ็บป่วยมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสียสมดุลจนป่วยเป็นโรคร้ายแรง และเป็นโรคแปลกๆเกิดขึ้น แล้วเราก็ไปหาหมอให้หมอดูแลรักษา แต่เราไม่เคยดูแลรักษาตัวเองเลย ไม่เคยสำรวจตัวเองหรือถามตัวเองเลยว่า นี่เราไปทำอะไรมา?.... กินอะไรเข้าไป?.... ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน?....ฉันถึงได้ป่วย ?.... แต่่เกือบทุกคน มักจะถามว่า คุณหมอคะฉันจะหายไหม?.... หายเมื่อไหร่?..... ทำไมดิฉันถึง......?ได้ป่วย ทำไมดิฉันถึงเป็นแบบนี้ ?....และลงท้ายด้วยการโทษเวรกรรม ว่าไปทำอะไรไว้ถึงได้เป็นโรคนี้ แหน่ะ! โทษตัวเองซิครับ ทำตัวเองทั้งนั้นและมันก็แก้ที่ตัวเองได้ด้วย ถ้าไม่ปล่อยให้ตัวเองไว้เนิ่นนานจนโรคลุกลามร้ายแรง

ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ


อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ซึ่งเราสามารถใช้ใบย่านางในการบำบัดและบรรเทาเพื่อปรับสมดุลได้ เช่น
  1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ตามัว ขี้ดาข้น เหนียว
  2. มีสิวฝ้า
  3. มีตุ่มแผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบบ่อยๆ
  4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
  5. ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  6. ไข้ขึ้น ปวดหวั ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
  7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกทำให้มีรอยคล้ำใต้ผิวหนัง
  8. ปวดบวมแดงร้อนตมร่างกายหรือตามข้อ
  9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ
  10. ผิวหน้งคล้ำคล้ายผิวใหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
  11. ตกกระสีดำหรือสีน้ำตาลตามร่างกาย
  12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียด้วย
  13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆจะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมารวมกับปัสสาวะ มักตื่นช่วงเที่ยงคืนถึงตีสอง คนที่ร่างกายปกติจะไม่ตื่นกลางดึก
  14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการท้องอืดร่วมด้วย
  15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใส
  16. เป็นเริม งูสวัด
  17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น มีสีขาวขุ่น สีเขียวหรือสีเหลืองบางทีมีเสมหะพันคอ
  18. โดยสารยานยนต์ มักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง
  19. เลือดกำเดาไหล
  20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
  21. ถ้าเป็นมากจะยกแขนไม่ขึ้นไหล่ติด
  22. เล็บมือเล้มเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำอักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ
  23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับ อากาศร้อน หรือเปลี่อิริยาบถเร็ว หรือเมื่อทำงานเกินกำลัง
  24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
  25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนก้ไม่หาย
  26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
  27. เจ็บปลายลิ้น นั่นแสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆจะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปถึงแขน
  28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
  29. หิวมาก ตาลาย หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
  30. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า บางครังรู้สึกเหมือนถูไฟซ็อต
  31. เกร็งชัก

ละสุดท้าย จะนำท่านไปสู่โรค หัวใจ หวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหาร และสำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด หอบหือ ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เนื้องอก และมะเร็ง เป็นต้น


ในบทความครั้งหน้า ข้าพเจ้าจะมาบอกถึงวิธีใช้ใบย่านางในการบำบัดและบรรเทา ช่วยฟื้นฟูเซล์ คุ้มครองเซลล์ ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกายให้บรรเทาและหายจากโรคที่เป็นได้คะ
ฺัBY :Thidapat
Source : ย่านางสมุนไพรมหัศจรรย์ โดย คุณใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)

ใบย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์

ชื่อสามัญ : Bai-ya-nang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra Diels
วงศ์ : MENISOERMACEAE
ชื่อพื้นเมือง
  • ภาคกลางเรียก : เถาย่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี
  • เชียงใหม่เรียก :จ้อยนาง จอยนาง ผักจอยนาง
  • ภาคใต้เรียก :ย่านนาง ยานนาง ขันยอ
  • สุราษฏร์ธานีเรียก :ยาดนาง วันนยอ
  • ภาคอีสาน :ย่านาง เครือย่านาง
  • อื่น เรียก :เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม

ย่านางสมุนไพรมหัศจรรย์ ที่ใช้เป็นอาหารและยามาตั้งแต่โบราณ หมอยาโบราณภาคอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า "หมื่นปีบ่เฒ่า"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นย่านาง เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป้นเถากลมๆ ขนาดเล็ก แต่เหนียว เมื่อเถาแก่จะมีสีเขียวเข้ม
คล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ออกติดกัลลำต้น รูปร่างทรงไช่ ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นมัน
ราก มีหัวใต้ดิน ทรงกลม รากมีขนาดใหญ่


การใช้ประโยชน์เป็นยาและอาหาร

  • ใช้รากต้มเป็นยาอาบแก้อีสุกอีใส
  • ใช้รากย่านางต้มผสมกับรากหมอน้อย แก้เป้นไข้มาลาเรียร
  • ใช้รากต้มขับพิษต่างๆ
  • คนสมัยก่อนใช้น้ำคั้นย่านางต้มปรุงเป็นอาหาร ร่วมกับหน่อไม้ เพื่อลดรสขมขื่นของหน่อไม้ และที่สำคัญคือ ต้านพิษยูริกในหน่อไม้  ซึ่งกรดยูริกนี้จะถ้าบริโภคมากๆจะสะสมทำให้ปวดข้อได้ (เกาส์)

คุณค่าทางโภชนาการ
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากในใบ่ย่านางคือ ไฟเบอร์ แคลเชียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอ โดยในใบย่านาง 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
  • พลังงาน       95             kcal
  • เส้นใย          7.9            g
  • แคลเซียม     155           mg
  • ฟอสฟอรัส    11            mg
  • เหล็ก           7.0            mg
  • วิตามินเอ     30625       IU
  • วิตามินบี      0.03         mg
  • วิตามินบี      20.36       mg
  • ไนอาซิน     1.40          mg
  • วิตามินซี     15.5          %
  • โปรตีน        0.24         %
  • ฟอสฟอรัส   1.29         %
  • โพแทสเซียม 1.24        %

การปลูกและดูแลรักษา

 ย่านางมักพบขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลูกก็ไม่ยาก โดยการเพาะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง  ย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อม แต่ถ้าดินสกปรก ดินเค็มย่านางจะไม่เจริญเติบโต