ใบย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์

ชื่อสามัญ : Bai-ya-nang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra Diels
วงศ์ : MENISOERMACEAE
ชื่อพื้นเมือง
  • ภาคกลางเรียก : เถาย่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี
  • เชียงใหม่เรียก :จ้อยนาง จอยนาง ผักจอยนาง
  • ภาคใต้เรียก :ย่านนาง ยานนาง ขันยอ
  • สุราษฏร์ธานีเรียก :ยาดนาง วันนยอ
  • ภาคอีสาน :ย่านาง เครือย่านาง
  • อื่น เรียก :เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม

ย่านางสมุนไพรมหัศจรรย์ ที่ใช้เป็นอาหารและยามาตั้งแต่โบราณ หมอยาโบราณภาคอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า "หมื่นปีบ่เฒ่า"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นย่านาง เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป้นเถากลมๆ ขนาดเล็ก แต่เหนียว เมื่อเถาแก่จะมีสีเขียวเข้ม
คล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ออกติดกัลลำต้น รูปร่างทรงไช่ ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นมัน
ราก มีหัวใต้ดิน ทรงกลม รากมีขนาดใหญ่


การใช้ประโยชน์เป็นยาและอาหาร

  • ใช้รากต้มเป็นยาอาบแก้อีสุกอีใส
  • ใช้รากย่านางต้มผสมกับรากหมอน้อย แก้เป้นไข้มาลาเรียร
  • ใช้รากต้มขับพิษต่างๆ
  • คนสมัยก่อนใช้น้ำคั้นย่านางต้มปรุงเป็นอาหาร ร่วมกับหน่อไม้ เพื่อลดรสขมขื่นของหน่อไม้ และที่สำคัญคือ ต้านพิษยูริกในหน่อไม้  ซึ่งกรดยูริกนี้จะถ้าบริโภคมากๆจะสะสมทำให้ปวดข้อได้ (เกาส์)

คุณค่าทางโภชนาการ
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากในใบ่ย่านางคือ ไฟเบอร์ แคลเชียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอ โดยในใบย่านาง 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
  • พลังงาน       95             kcal
  • เส้นใย          7.9            g
  • แคลเซียม     155           mg
  • ฟอสฟอรัส    11            mg
  • เหล็ก           7.0            mg
  • วิตามินเอ     30625       IU
  • วิตามินบี      0.03         mg
  • วิตามินบี      20.36       mg
  • ไนอาซิน     1.40          mg
  • วิตามินซี     15.5          %
  • โปรตีน        0.24         %
  • ฟอสฟอรัส   1.29         %
  • โพแทสเซียม 1.24        %

การปลูกและดูแลรักษา

 ย่านางมักพบขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลูกก็ไม่ยาก โดยการเพาะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง  ย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อม แต่ถ้าดินสกปรก ดินเค็มย่านางจะไม่เจริญเติบโต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น